Posted on

รีวิวอุปกรณ์การเกษตร-กรรไกรตอนกิ่ง-ควั่นกิ่ง

อุปกรณ์การเกษตร-กรรไกรตอนกิ่ง15

ท่านทั้งหลายน่าจะคุ้ยเคยตอนกิ่งไม้กันอยู่แล้ว ตัว admin เองก็เคยเรียนตอนกิ่งไม้ตั้งแต่อยู่ประถม จำได้ว่าคุณครูให้ตอนกิ่งต้นดอกพุดที่ปลูกเป็นแนวรั้วด้านหลังอาคารเรียน ตอนที่ทำก็ยังงงๆว่ามันจะมีรากออกมายังไง แต่มาถึงบางอ้อเอาตอนกลับมาที่บ้าน แล้วมาถามคำถามนี้กับคุณพ่อ และคุณพ่อก็พาไปดูกิ่งตอนต้นมะนาวหลังบ้านที่กำลังออกรากยาวๆมากมาย ความรู้สึกตอนนั้นมันช่างเป็นเรื่องแปลกประหลาดมาก ที่เราปลูกต้นไม้ได้โดยไม่ต้องเริ่มจากเมล็ด….

โอ้…ตกลงว่าวันนี้จะมาเขียนไดอารี่ หรือจะมารีวิวสินค้ากันแน่เนี่ย..อิอิ…งั้นเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า อุปกรณ์เกษตรที่จะนำเสนอในวันนี้ ก็คืออ……..กรรไกรตอนกิ่ง….นั่นเองงงงงงง… ( sound ประกอบเหมือนทีวีแชมเปี้ยน)

พระเอกวันนี้ คือกรรไกรตอนกิ่งขนาดกลาง ขนาดเหมาะมือ อันนี้ค่ะ

อุปกรณ์เกษตร-กรรไกรตอนกิ่ง1

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนนางเอกก็ใช่คนอื่นไกลที่ไหน…หนูมะนาวน้อย….นั่นเอง (อีกแล้ว)

รีวิวนี้จะแสดงให้เห็นว่ากรรไกรตอนกิ่งขนาดกลางรุ่นนี้ สามารถใช้ได้กับกิ่งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ แต่วันนี้เราจะเลือกกิ่งมะนาวไซส์เล็กมาให้ดูกัน

เรื่มจากการกะขนาดกิ่งตอน ถ้ามีขนาดเล็กก็ใช้ความคมตรงปลายกรรไกร อย่างนี้จ้า

อุปกรณ์เกษตร-กรรไกรตอนกิ่ง9

 

 

 

 

 

 

 

จากนั้นก็หมุนกรรไกรกรีดรอบกิ่งพันธุ์

อุปกรณ์เกษตร-กรรไกรตอนกิ่ง8

 

 

 

 

 

 

 

ทำซ้ำเพื่อสร้างรอยกรีดขอบล่าง รอยกรีดที่ได้จะไม่ชอกช้ำระกำใจเลย..อิอิ..จากนั้นใช้มีดปลายแหลมเล็กกรีดตรงกลางขอบที่กรีด

จากนั้นก็สามารถลอกเปลือกไม้ออกได้โดยง่ายดายอย่างนี้เลย

 

อุปกรณ์เกษตร-กรรไกรตอนกิ่ง12

 

 

 

 

 

 

 

 

อุปกรณ์เกษตร-กรรไกรตอนกิ่ง15

 

 

 

 

 

 

 

อ๊ะ อย่าลืมใช้สันกรรไกรขูดเบาๆเพื่อตัดท่อนำอาหารด้วยนะจ๊ะ  จากนั้นก็เป็นงานของขุยมะพร้าว , ถุงพลาสติก และเชือกรัด อย่างนี้..แต่นแต๊น…

อุปกรณ์เกษตร-กรรไกรตอนกิ่ง16

 

 

 

 

 

 

 

เป็นไงบ้างคะ กับฝีมือของพระเอกของเรา นี่ถ้าเป็นกิ่งไซส์ใหญ่กว่านี้ จะรู้เลยค่ะว่าทำได้ง่ายและสะดวกกว่าการใช้มีดกรีดเยอะ ที่สำคัญใช้กรรไกรตอนกิ่งสามารถลดความบอบช้ำของรอยกรีดได้อย่างดีเลยค่ะ

ขอปิดท้าย ด้วยรูปคู่ของพระ-นางนะคะ แล้วเจอกันรีวิวหน้าค่ะ

อุปกรณ์เกษตร-กรรไกรตอนกิ่ง17

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Posted on

แสงจาก LED ทางเลือกใหม่ของอุปกรณ์การเกษตรในอวกาศ

อุปกรณ์การเกษตร LED

เนื่องมาจากการพยายามปรับตัวสู่ยุค AEC ของ adimin ทำให้ได้ไปเจอข่าวการวิจัยอุปกรณ์การเกษตรเชิงพลังงานทางเลือกโดยการใช้แสงไฟจาก LED ในการปลูกพืชในอวกาศสำหรับนักบินอวกาศ

จากความเก่งกาจทางด้านภาษา ทำให้ admin แปลออกมาได้ประมาณนี้ว่า

ตอนนี้คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัย Purdue นำทีมโดยคุณ Cary Mitchell อาจารย์ภาควิชาพืชสวนและนักศึกษาปริญญาโท คุณ Lucie Poulet ได้ศึกษาการเจริญเติบโตของผักกาดหอมภายใต้แสงจากหลอด LED ที่ติดตั้งบริเวณใกล้หลังคา ในอัตราส่วนแสงแดง : แสงน้ำเงิน เป็น 95 : 5 ทั้งนี้การศึกษาพบว่าใช้พลังงานน้อยกว่าการใช้แสงปริมาณเดียวกันจากแหล่งกำเนิดแสงสว่างแบบเดิม และยังใช้พลังงานแค่เพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับการใช้หลอด LED แบบเต็มรูปแบบ

คณะศึกษากล่าวว่า “”ทุกอย่างบนโลกล้วนถูกขับเคลื่อนด้วยแสงอาทิตย์และระบบการสังเคราะห์แสง คำถามคือมีวิธีไหนที่เราจะสามารถจำลองพื้นที่เพาะปลูก ภายใต้การสร้างแสงด้วยแหล่งพลังงานจำกัด  ซึ่งไฟ LED เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะเราไม่ได้ติดอยู่ในยุคของความอุดมสมบูรณ์ของพลังงานแสงแรงสูง แหล่งพลังงานขนาดใหญ่ และก็ไม่ใช่ยุคของโคมไฟที่เปราะบาง ”

หนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการศึกษาการใช้แสงจาก LED ในการจำลองระบบนิเวศที่เลียนแบบชีวมณฑลของโลก คือ อาหารสำหรับการเดินทางไปสำรวจอวกาศ เช่น การเดินทางไป-กลับ ระหว่างโลกและดาวอังคารจะใช้เวลาประมาณ 1,000 วัน ซึ่งต้องใช้อาหาร ,น้ำและออกซิเจนจำนวนมาก ซึ่งหากเราสามารถพัฒนาโมดูลสำหรับปลูกพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ลูกเรือมีพื้นที่สำหรับปลูกพืชเป็นอาหารได้ในระหว่างการเดินทางที่ยาวนาน

Poulet ยังกล่าวอีกว่า “ถ้าเราสามารถออกแบบระบบที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราจะสามารถปลูกผักเพื่อการบริโภคสำหรับการเดินทางในอวกาศ  ตอนนี้เราสามารถจินตนาการไปถึงการสร้างเรือนกระจกปลูกผักบนดวงจันทร์กันเลยทีเดียว”

ความท้าทายหลักในการสร้างโมดูลพืชระหว่างการเดินทางในอวกาศ คือหากใช้หลอดไฟโซเดียมซึ่งเลียนแบบแสงอาทิตย์ก็จะต้องใช้พลังงานสูงถึง 600 ถึง 1,000 วัตต์ธรรมดา และความร้อนจากแสงไฟจะเผาใบของพืชหากวางใกล้เกินไป รวมไปถึงต้องมีระบบการดูดซับความร้อนส่วนเกินที่จะเกิดขึ้น

“นอกจากนี้ คุณจะต้องมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จึงจะสามารถเลี้ยงลูกเรือสี่คนเป็นประจำด้วยการปลูกพืชภายใต้แสงไฟฟ้าแบบดั้งเดิม”Poulet กล่าว

เพื่อการออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น Poulet และ Mitchell หันไปใช้หลอดไฟ LED ความเข้มสูง ซึ่งแต่ละหลอดใช้ไฟประมาณ 1 วัตต์ และมีขนาดเล็กมาก รวมถึงมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดไฟแบบดั้งเดิม ที่สำคัญหลอด LED เหล่านี้ไม่ปล่อยพลังงานความร้อนส่วนเกิน ซึ่งทำให้เราสามารถติดตั้งหลอดไฟ LED ไว้ใกล้กับพืชมากขึ้น

“แทนที่ตั้งโคมไฟแบบดั้งเดิมให้ห่างจากแปลงผักอย่างน้อย 4 ฟุตสำหรับต้นผักกาดหอม แต่ถ้าใช้หลอดไฟ LED  เราจะวางห่างจากผักได้ในระยะ 4 เซนติเมตรจากใบ” Mitchell กล่าว

ทั้งนี้ นักวิจัยยังต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการปรับอัตราส่วนของสีแดงและแสงสีน้ำเงินในผักกาดหอมใบด้วยชุดคลื่นแสงที่ดีที่สุดสำหรับการสังเคราะห์แสงและการเจริญเติบโต

Mitchell ยังกล่าวอีกว่าการศึกษาการใช้ไฟ LED นี้ยังสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกรโดยการลดค่าใช้จ่ายในการส่องสว่าง

ขั้นตอนต่อไปในการวิจัย คือการปรับเพิ่มและลดแสงให้สอดคล้องตามระยะการเจริญเติบโตของพืช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและประหยัดพลังงาน

เป็นไงคะ น่าสนใจใช่มั้ยล่ะ จริงๆถ้าเราจะเพิ่มการใช้หลอด LED เป็นอุปกรณ์การเกษตรชิ้นใหม่ในลิสต์รายการ หรือลองประยุกต์ใช้ LED กับสิ่งรอบตัวที่บ้านเราบ้างก็คงไม่เสียหายอะไร ดีไม่ดี…จะประหยัดไฟ ประหยัดสตางค์ไปได้อีกเยอะ

 

ขอบคุณ http://www.sciencedaily.com/releases/2015/07/150701115101.htm

 

Posted on

เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่ยาก ค่าอุปกรณ์ราคาประหยัด!!!

อุปกรณ์การเกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

สืบเนื่องมาจากกอกล้วยหน้าบ้านตกเครือเป็นครั้งแรก สร้างความตื่นเต้นให้กับ admin มาก และก็ไม่ผิดหวังเลยหลังจากที่ได้ลองชิม (กันเป็นหวีๆ) แล้ว เพราะเนื้อที่แน่น หวาน ไส้เหลืองอ่อนๆ อร่อยมากๆ อยากจะเพาะพันธ์แจกกันเลย แต่มองไปที่หน่อแล้วคงแจกได้เต็มที่ก็พี่ รปภ. ของหมู่บ้าน ( มีคนเดียว)

แว่บนั้น…พลันก็นึกขึ้นได้ถึงวิธีการขยายพันธุ์ที่เคยเห็นตอนอยู่ ม. ต้น ( ก็แค่กว่า 20 ปีก่อนเอง..อิอิ) อืม…วิธีก็ไม่ใหม่แล้ว ไหงราคาอุปกรณ์ยังเป็นหมื่นแก่ๆถึงแสนอ่อนๆอยู่เลย ทันใดนั้นก็เห็นข่าวไทยรัฐที่ลงไว้เมื่อปี 2557 ว่าเราสามารถเพาะเนื้อเยื่อพืชได้โดยลงทุนค่าอุปกรณ์แค่หลักร้อย.. น่าสนใจมาก..ไปดูกันว่าเค้าทำยังไง

คิดจะเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบ้าง ไม่ใช่เรื่องยากเกินเอื้อม…น.ส.มนฑิณี กมลธรรม นักวิชาการ ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้คิดวิธีการแบบใหม่ ลงทุนแค่ไม่กี่ร้อยบาท เราสามารถเนรมิตห้องเพาะเนื้อเยื่อทำเล่นสนุกๆภายในบ้านได้แล้ว

“การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สิ่งสำคัญที่สุดคือความสะอาด กับใจเย็น ไม่อย่างนั้นเลี้ยงไม่รอด ไม่กี่วันอาหารเป็นเชื้อรา เนื้อเยื่อตายหมด ถ้าใครยังไม่เคยทำ ให้ลองเอากล้วยไม้มาทำก่อน เพราะง่ายที่สุด เขี่ยเนื้อเยื่อเสร็จเลี้ยงอีกแค่ 5-6 เดือน ต้นเริ่มโตก็ขายได้ หรือเอาไปเป็นของขวัญของฝากในเทศกาลต่างๆก็ไม่เลว”

วิธีการไม่ยาก อุปกรณ์ก็หาง่าย เริ่มด้วยการทำอาหารเนื้อเยื่อ

ใช้น้ำสะอาด 1 ลิตร

วุ้นทำอาหาร 8 กรัม

ถ่านไม้บด 0.2 กรัม

มันฝรั่งบด 50 กรัม

กล้วยหอมบด 50 กรัม

ปุ๋ยสูตรที่มีไนโตรเจนสูง (N) 2 กรัม

ใส่รวมในหม้อต้ม คนให้เข้ากันกระทั่งน้ำเดือด เทอาหารเนื้อเยื่อใส่ขวด สูงประมาณ 1 ซม. หยดน้ำยาซักผ้าขาวที่มีสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ตามทันทีประมาณ 5 หยด/ขวด…ปิดฝาอย่างรวดเร็ว ความร้อนกับน้ำยาซักผ้าขาวจะฆ่าเชื้อได้ดี

วิธีนี้เลยไม่ต้องใช้หม้อนึ่งความดันให้สิ้นเปลือง

สูตรนี้ได้อาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อ 40-50 ขวด เมื่ออาหารเย็นจับตัวเป็นก้อน เอาไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เลย ขั้นตอนนี้โดยทั่วไปจะทำกันใน “ตู้ปลอดเชื้อ” ราคาแพงๆ แต่ มนฑิณี ใช้ “ตู้เลี้ยงปลา” ล้างให้สะอาด ภายในมีตะเกียงแอลกอฮอล์…ก่อนลงมือเอาเนื้อเยื่อมาเพาะเลี้ยง ต้องใช้เอทิลแอลกอฮอล์ 70% เช็ดฆ่าเชื้อตามฝ่ามือ ขวดอาหารเนื้อเยื่อ รวมทั้งปากคีบต้องเผาไฟฆ่าเชื้อ 2-3 ครั้ง

 

เนื้อเยื่อที่ต้องการนำเพาะขยาย ทำได้ทั้งพืชล้มลุก ไม้ดอกไม้ประดับ แล้วแต่ใครจะชอบ ตัดเอาแค่ส่วนยอดอ่อนด้วยใบมีดที่คม แผลจะได้ไม่ช้ำ นำไปจุ่มในน้ำยาซักผ้าขาว 15% ฆ่าเชื้อก่อน จากนั้นนำไปใส่ในขวดอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ…ฝา ปากขวดต้องอังกับตะเกียงไฟ 3-5 วินาทีก่อนปิดให้สนิท

นำขวดที่มีเนื้อเยื่อไปวางไว้ที่อุณหภูมิ 25–28 องศา เปิดไฟให้แสงสว่างวันละ 8 ชม. สังเกตอาหารเพาะเนื้อเยื่อหมด ย้ายต้นกล้าลงปลูกได้เลย

แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ ให้ย้ายต้นกล้ามาใส่กาบมะพร้าวสับ เอาไปแขวนไว้ในโรงเรือนเพาะเลี้ยง ที่แสงแดดไม่แรง 5-6 เดือน ก็สามารถเปลี่ยนเป็นเงินเข้ากระเป๋าได้สบายๆ

 

รู้อย่างนี้แล้ว ต้องลองทำกันดูนะคะ  admin ไม่พลาด (ให้สามีทำ) แน่ค่ะ อิอิ

ขอขอบคุณ http://www.thairath.co.th/content/456692

Posted on

หลอดกาแฟ อุปกรณ์ใหม่ในการเสียบกิ่ง

9ib8chcdaabheajbf7b88

วันนี้เราก็ยังคงวนเวียนอยู่กับข่าวมะนาวและจังหวัดพิจิตร ซึ่งก็ได้มาจากคมชัดลึกอีกเช่นเคย งานนี้คุณวัง สุขประเสริฐ ใช้หลอดกาแฟมาสวมตรงรอยเสียบกิ่งแทนการใช้เชือกหรือเทปพลาสติก ทำให้สะดวกในการทำงานและลดความบอบช้ำตรงรอยเสียบ ส่วนวิธีการทำก็ตามเนื้อข่าวที่ได้ตัดเฉพาะขั้นตอนการทำมาดังนี้ค่ะ

“ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว เป็นนักข่าวเห็นมากับตาต้องเผยแพร่บ้าง เผื่อเกษตรกรท่านอื่น หรือผู้ที่สนใจในการเสียบยอดมะนาว หรือต้นไม้จะได้นำไปปฏิบัติด้วย

                      วิธีการง่ายครับ เพียงแต่สังเกตขนาดของต้นตอที่เราจะเสียบยอด ที่สวนบ้านพันธุ์ไม้ อาจารย์วังจะใช้มะนาวพื้นเมือง ที่มีความทนต่อโรคและหาอาหารเก่งมาเป็นต้อตอ จากนั้นไปซื้อหลอดกาแฟที่มีขนาดเท่ากันหรือใกล้เคียงกับต้นตอ เมื่อได้มาแล้วก็จัดการเสียบยอดได้เลย
                      เริ่มจากการนำต้นตอที่มีอายุ 6-8 เดือน กะความสูงจากโคนต้นราว 5-6 นิ้ว แล้วตัดยอดออก เอามีดผ่ากลางเป็นปากฉลามลึก 1 นิ้ว แล้วเอาหลอดกาแฟตัดขนาดยาว 1.2 นิ้วสวมไว้ จากนั้นนำกิ่งยอดมะนาวพันธุ์ดีที่เตรียมไว้ที่จะเสียบมาปาดกิ่งที่ตัดทั้ง 2 ด้าน ให้เป็นปลายแหลมยาว 1 นิ้วเช่นกัน
                      เมื่อเสร็จแล้วนำยอดพันธุ์เสียบลงในปากฉลามให้เปลือกของต้นตอกับเปลือกของยอดพันธุ์ติดกัน ดึงหลอดกาแฟมาหุ้มแทนการพันด้วยเชือกพลาสติก เมื่อได้ 20 ต้น นำเข้าถุงอบ ที่เป็นถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ปิดปากถุงให้แน่น เก็บไว้ในร่ม พอครบ 1 เดือนออกมาไว้ในโรงเรือนเพื่อจำหน่ายหรือลงหลุมปลูกต่อไป “
อันนี้ไม่ขอแสดงความคิดเห็นเรื่องเทคนิคใหม่กับการใช้หลอดกาแฟ แต่อยากเมนท์ซักนิดว่าถ้าใช้กรรไกรเสียบยอดแทนมีดปาดกิ่งล่ะก้อ…ซู้ดยอด…อิอิ
Posted on

ปุ๋ยหมักผักตบชวา มากคุณค่าสำหรับอ้อย มัน มะพร้าว

อุปกรณ์การเกษตรphoto (6)

สวัสดีค่ะ  พอดีผ่านไปแถวคลองประปาแถวบางใหญ่เมื่อเดือนก่อน เห็นเหล่าทหารหาญ(น่าจะมากันทั้งกองร้อย) ลงไปในคลองเพื่อลอกต้นผักตบชวาอันหนาแน่นในคลอง ( แต่ตอนที่เห็นตัดสินใจไม่ถูกว่าระหว่างจำนวนผักตบชวากับจำนวนทหารในคลองอันไหนแน่น…เอ๊ย…หนาแน่นกว่ากัน อิอิ)

ผลจากการอุทิศแรงกายแรงใจของเหล่าทหารหนุ่ม ทำให้เกิดกองผักตบชวาริมฝั่งคลองกองสูงเกือบเท่าตึก 2 ชั้น) ก็เลยคิดเลยไปว่าถ้าได้เป็นเจ้าของกองผักตบกองมหึหากองนี้จะเอาไปทำอะไรดีน้า…

ว่าแล้วก็ได้ลองหาข้อมูลประโยชน์ของผักตบชวาว่าถ้านำมาทำปุ๋ยหมัก จะเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุโปแตสเซียมสูง เหมาะกับพืชหัวต่างๆเช่น มัน มะพร้าว และอ้อย โดยถ้าต้นไม้ขาดธาตุโปแตสเซียมก็จะทำให้ต้นแคระแกรน หรือง่ายๆว่าอ้อยไม่ค่อยหวาน มะพร้าวไม่ค่อยมัน

วิธีทำปุ๋ยหมักผักตบชวาก็มี 4 วิธี คือ

 

อุปกรณ์เกษตรปุ๋ยผักตบ

 

 

 

 

 

 

วิธีที่ 1.ปล่อยให้ผักตบชวาแห้ง แล้วนำผักตบชวาไปเผาเพื่อเก็บขี้เถ้าซึ่งมีโปแตสเซียมอยู่ถึง 20% เอาไปใส่ให้แก่พืชที่ปลูก มีข้อได้เปรียบตรงที่ไม่ต้องขนให้หนัก แต่ก็ได้เผาอินทรียวัตถุที่พืชต้องการไปหมด

วิธีที่ 2.ทำเป็นปุ๋ยหมักโดยกองสลับชั้นกับดิน ปุ๋ยคอก ขยะ ซึ่งจะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยหมัก นำไปใช้ได้ภายใน 2 เดือน ระหว่างหมัก ควรกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 15 วัน โดยเอาส่วนบนลงล่างและส่วนล่างขึ้นบน กลับกองปุ๋ยหมักสัก 2 ครั้ง จากนั้นก็ปล่อยให้ค่อยๆ กลายเป็นปุ๋ยหมักซึ่งจะมีสีดำคล้ำ ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ผสมดิน มีองค์ประกอบคือ ไนโตรเจน 2.05% ฟอสฟอรัส 1.1% โปแตสเซียม 2.5% ธาตุทั้งสามอย่างน้ำเป็นอาหารธาตุที่จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของพืชทุกชนิดในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก

วิธีที่ 3. ถ้าทำปริมาณมากๆ ก็ลองศึกษาการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

วิธีที่ 4. ทำวัสดุคลุมดิน โดยการนำเอาผักตบชวาไปคลุมพืชปลูก เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก

 

นอกจากนี้ ผักตบชวาแห้งก็ยังเหมาะกับการนำไปเพาะเห็ดฟาง  หากสนใจก็ลองศึกษาเพิ่มเติมกันดู งานนี้ได้ปุ๋ยดีๆฟรี แล้วยังช่วยทำให้แม่น้ำลำคลองใสสะอาด ไม่ต้องลำบากคุณทหารด้วยนะจ้ะ

ขอบคุณข้อมูลและรูปดีๆจาก https://www.facebook.com/DoctorFarmAndTecnology/posts/146449662184023

และ https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subsoil/potas.htm