สวัสดีค่ะ วันนี้ admin จะขอมาคุยเรื่อง “ดิน” กันบ้างนะคะ ไม่ทราบว่ามีใครเป็นเหมือน admin มั้ยที่ตอนนั่งรถไปต่างจังหวัดแล้วชอบดูวิวข้างทาง อ๊ะ..ใช่..ใครๆเค้าก็ทำกัน (จะให้นั่งมองหน้าคนขับตลอดเวย์รึไง)…แต่มีใครบ้างไหมคะที่เคยจัดอันดับพื้นที่ดินดีในดวงใจ …อา…เคยกันบ้างป่าวล่ะ..สำหรับ admin นะคะขอมอบตำแหน่งดินดีในดวงใจ (ตัดสินด้วยสายตาอย่างเดียว เพราะว่าแค่นั่งรถผ่าน ไม่เคยได้ลงสัมผัสแบบถึงเนื้ิอถึงตัว อิอิ)ให้กับอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ค่ะ ผ่านเส้นทางนั้นตอนช่วงเมษายนมา 2-3 ปีแล้ว ประทับใจกับสีของดินแถวนั้นที่เค้าไถเตรียมการเพาะปลูก (คิดว่าน่าจะเป็นมันสำปะหลังนะคะ) แต่มาลองคิดดู แค่สีดินอาจจะบอกอะไรไม่ได้มาก เวลาเราจะปลูกอะไรก็ควรให้ความสำคัญกับชนิดและความสมบูรณ์ของดินในแปลงเพาะปลูกของเราก่อนก็น่าจะดี จะได้ไม่เปลืองค่าน้ำ ค่าปุ๋ย และไม่มาเพลียว่าทำไมพืชพรรณเรามันไม่งอกงาม ผลิดอกผลดีเท่าที่ควร จริงมั้ยคะ
งั้นมาดูข้อมูลที่หาได้จาก อัยย์แล็ปดอทเอเซีย ค่ะ
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม และข้อควรรู้
– อุปกรณ์เก็บดิน พวกจอบ เสียมหรือพลั่ว ต้องสะอาด
– ถุงหรือผ้าพลาสติกสำหรับใส่ดินตัวอย่าง
– หากที่ดินเป็นผืนใหญ่ และปลูกพืชต่างชนิดกัน ควรแบ่งแปลงดินออกเป็นส่วนตามพื้นที่และชนิดพืช โดยแต่ละแปลงไม่ควรเกิน 25 ไร่
– ควรเก็บตัวอย่างดิน 1-2 เดือนก่อนปลูกพืช และควรส่งตรวจดินทุกๆ 2-3 ปี
ขั้นตอนการเก็บดิน
(1) ดินสำหรับพืชรากสั้นพวกแปลงข้าว และพืชไร่ ควรเก็บดินแบบกระจายประมาณ 15 จุดทั่วแปลง
(2) ดินสำหรับพืชรากลึก พวกพืชสวน ควรเก็บตัวอย่างดินรอบๆต้นพืช 15-20 ต้นต่อแปลง รอบทรงแบบกระจายประมาณ 15 จุดทั่วแปลง
(3) ขุดหลุมเป็นรูป V ลึกประมาณ 1 หน้าจอบ จากนั้นใช้จอบเซาะดินที่ขอบหลุมขึ้นมาเต็มหน้าจอบ แล้วตัดดินทั้งสองข้างทิ้ง เก็บส่วนกลางใส่กระป๋องพลาสติก
(4) คลุกดินที่เก็บมาทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้นแบ่งดินมา ครึ่งกิโลกรัม ใส่ถุงพลาสติก (ถ้าดินเปียกให้ผึ่งในร่มให้แห้งก่อน ห้ามนำดินไปตากแดดโดยเด็ดขาด)
(5) ส่งตัวอย่างดินเข้าแล็ป เลือกได้ค่ะว่าจะเป็บแล็ปเอกชนหรือจะเป็นกรมพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ ราคาคงไม่ต่างกันมากแต่เรื่องเวลาอันนี้ไม่ทราบค่ะ
น่าสนใจใช่มั้ยคะ เหมือนเดิมค่ะ …ต้องลอง
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
http://www.ilab.asia/ilab/iLab_howto.html