Posted on

หลอดกาแฟ อุปกรณ์ใหม่ในการเสียบกิ่ง

9ib8chcdaabheajbf7b88

วันนี้เราก็ยังคงวนเวียนอยู่กับข่าวมะนาวและจังหวัดพิจิตร ซึ่งก็ได้มาจากคมชัดลึกอีกเช่นเคย งานนี้คุณวัง สุขประเสริฐ ใช้หลอดกาแฟมาสวมตรงรอยเสียบกิ่งแทนการใช้เชือกหรือเทปพลาสติก ทำให้สะดวกในการทำงานและลดความบอบช้ำตรงรอยเสียบ ส่วนวิธีการทำก็ตามเนื้อข่าวที่ได้ตัดเฉพาะขั้นตอนการทำมาดังนี้ค่ะ

“ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว เป็นนักข่าวเห็นมากับตาต้องเผยแพร่บ้าง เผื่อเกษตรกรท่านอื่น หรือผู้ที่สนใจในการเสียบยอดมะนาว หรือต้นไม้จะได้นำไปปฏิบัติด้วย

                      วิธีการง่ายครับ เพียงแต่สังเกตขนาดของต้นตอที่เราจะเสียบยอด ที่สวนบ้านพันธุ์ไม้ อาจารย์วังจะใช้มะนาวพื้นเมือง ที่มีความทนต่อโรคและหาอาหารเก่งมาเป็นต้อตอ จากนั้นไปซื้อหลอดกาแฟที่มีขนาดเท่ากันหรือใกล้เคียงกับต้นตอ เมื่อได้มาแล้วก็จัดการเสียบยอดได้เลย
                      เริ่มจากการนำต้นตอที่มีอายุ 6-8 เดือน กะความสูงจากโคนต้นราว 5-6 นิ้ว แล้วตัดยอดออก เอามีดผ่ากลางเป็นปากฉลามลึก 1 นิ้ว แล้วเอาหลอดกาแฟตัดขนาดยาว 1.2 นิ้วสวมไว้ จากนั้นนำกิ่งยอดมะนาวพันธุ์ดีที่เตรียมไว้ที่จะเสียบมาปาดกิ่งที่ตัดทั้ง 2 ด้าน ให้เป็นปลายแหลมยาว 1 นิ้วเช่นกัน
                      เมื่อเสร็จแล้วนำยอดพันธุ์เสียบลงในปากฉลามให้เปลือกของต้นตอกับเปลือกของยอดพันธุ์ติดกัน ดึงหลอดกาแฟมาหุ้มแทนการพันด้วยเชือกพลาสติก เมื่อได้ 20 ต้น นำเข้าถุงอบ ที่เป็นถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ปิดปากถุงให้แน่น เก็บไว้ในร่ม พอครบ 1 เดือนออกมาไว้ในโรงเรือนเพื่อจำหน่ายหรือลงหลุมปลูกต่อไป “
อันนี้ไม่ขอแสดงความคิดเห็นเรื่องเทคนิคใหม่กับการใช้หลอดกาแฟ แต่อยากเมนท์ซักนิดว่าถ้าใช้กรรไกรเสียบยอดแทนมีดปาดกิ่งล่ะก้อ…ซู้ดยอด…อิอิ
Posted on

ปุ๋ยหมักผักตบชวา มากคุณค่าสำหรับอ้อย มัน มะพร้าว

อุปกรณ์การเกษตรphoto (6)

สวัสดีค่ะ  พอดีผ่านไปแถวคลองประปาแถวบางใหญ่เมื่อเดือนก่อน เห็นเหล่าทหารหาญ(น่าจะมากันทั้งกองร้อย) ลงไปในคลองเพื่อลอกต้นผักตบชวาอันหนาแน่นในคลอง ( แต่ตอนที่เห็นตัดสินใจไม่ถูกว่าระหว่างจำนวนผักตบชวากับจำนวนทหารในคลองอันไหนแน่น…เอ๊ย…หนาแน่นกว่ากัน อิอิ)

ผลจากการอุทิศแรงกายแรงใจของเหล่าทหารหนุ่ม ทำให้เกิดกองผักตบชวาริมฝั่งคลองกองสูงเกือบเท่าตึก 2 ชั้น) ก็เลยคิดเลยไปว่าถ้าได้เป็นเจ้าของกองผักตบกองมหึหากองนี้จะเอาไปทำอะไรดีน้า…

ว่าแล้วก็ได้ลองหาข้อมูลประโยชน์ของผักตบชวาว่าถ้านำมาทำปุ๋ยหมัก จะเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุโปแตสเซียมสูง เหมาะกับพืชหัวต่างๆเช่น มัน มะพร้าว และอ้อย โดยถ้าต้นไม้ขาดธาตุโปแตสเซียมก็จะทำให้ต้นแคระแกรน หรือง่ายๆว่าอ้อยไม่ค่อยหวาน มะพร้าวไม่ค่อยมัน

วิธีทำปุ๋ยหมักผักตบชวาก็มี 4 วิธี คือ

 

อุปกรณ์เกษตรปุ๋ยผักตบ

 

 

 

 

 

 

วิธีที่ 1.ปล่อยให้ผักตบชวาแห้ง แล้วนำผักตบชวาไปเผาเพื่อเก็บขี้เถ้าซึ่งมีโปแตสเซียมอยู่ถึง 20% เอาไปใส่ให้แก่พืชที่ปลูก มีข้อได้เปรียบตรงที่ไม่ต้องขนให้หนัก แต่ก็ได้เผาอินทรียวัตถุที่พืชต้องการไปหมด

วิธีที่ 2.ทำเป็นปุ๋ยหมักโดยกองสลับชั้นกับดิน ปุ๋ยคอก ขยะ ซึ่งจะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยหมัก นำไปใช้ได้ภายใน 2 เดือน ระหว่างหมัก ควรกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 15 วัน โดยเอาส่วนบนลงล่างและส่วนล่างขึ้นบน กลับกองปุ๋ยหมักสัก 2 ครั้ง จากนั้นก็ปล่อยให้ค่อยๆ กลายเป็นปุ๋ยหมักซึ่งจะมีสีดำคล้ำ ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ผสมดิน มีองค์ประกอบคือ ไนโตรเจน 2.05% ฟอสฟอรัส 1.1% โปแตสเซียม 2.5% ธาตุทั้งสามอย่างน้ำเป็นอาหารธาตุที่จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของพืชทุกชนิดในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก

วิธีที่ 3. ถ้าทำปริมาณมากๆ ก็ลองศึกษาการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

วิธีที่ 4. ทำวัสดุคลุมดิน โดยการนำเอาผักตบชวาไปคลุมพืชปลูก เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก

 

นอกจากนี้ ผักตบชวาแห้งก็ยังเหมาะกับการนำไปเพาะเห็ดฟาง  หากสนใจก็ลองศึกษาเพิ่มเติมกันดู งานนี้ได้ปุ๋ยดีๆฟรี แล้วยังช่วยทำให้แม่น้ำลำคลองใสสะอาด ไม่ต้องลำบากคุณทหารด้วยนะจ้ะ

ขอบคุณข้อมูลและรูปดีๆจาก https://www.facebook.com/DoctorFarmAndTecnology/posts/146449662184023

และ https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subsoil/potas.htm

Posted on

มะนาวแป้นพิจิตร 3 !!!! จะเปิดตัวกันยายน 2558… สาวกมะนาวห้ามพลาด

แป้นพิจิตร3-อุปกรณ์การเกษตร

โอ๊ะ …วันนี้ คมชัดลึก ลงข่าว เรื่องศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร  โดยมี ดร.วสรรญ์ ผ่องสมบูรณ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร เป็นหัวหน้าทีม จะเปิดตัวมะนาวพันธ์ ” แป้นพิจิตร3″ หลังจากที่เคยประสบความสำเร็จจากการปรับปรุงพันธ์มะนาวจนได้มะนาวพันธ์ “แป้นพิจิตร1″ มาแล้ว  ไปอ่านเนื้อข่าวกันจ้า

พูดถึงศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร นับเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ที่เน้นในเรื่องมะนาวด้วย และที่นั่นกลายเป็นศูนย์รวมของพันธุ์มะนาวมากมาย อาทิ มะนาวแป้น  มี แป้นรำไพ แป้นพิจิตร 1 ที่ศูนย์พัฒนาสายพันธุ์เอง ไตฮิติ เลมอน มะนาวหนัง แม่ไข่ไก่ดก และแป้นต่างๆ รวมถึงมะนาวน้ำหอมอีกด้วย
                    ปัจจุบัน ดร.วสรรญ์ ทดลองบังคับมะนาวให้ออกผลผลิตนอกฤดูด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้สาร “ยูนิโคนาโซล” แทนการใช้สารพาโคลบิวทราโซล ที่มีสารตกค้างค่อนข้างนานและมากกว่า
                    ล่าสุด ขอให้เกษตรกรรอสักอึกใจ จะมีข่าวดีสำหรับผู้สนใจการปลูกมะนาว หลังจากทีมงานวิจัยและสายพันธุ์มะนาว จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตรประสบผลสำเร็จอีกระดับ คาดว่าราวๆ เดือนกันยายน 2558 ที่จะถึงนี้ กรมวิชาการเกษตร จะประกาศรับรองมะนาวพันธุ์ใหม่ ทราบมาคร่าวๆ ว่าจะเป็น “แป้นพิจิตร 3″ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับประเทศในยุคนี้
                    มะนาวพันธุ์ที่จะประกาศรับรองสายพันธุ์ในเดือนกันยายนนี้ เป็นการพัฒนาสายพันธุ์มาจาก “แป้นพิจิตร1″ ที่มีคุณสมบัติเด่นทนต่อโรค ออกผลผลิตดก ลูกโต แต่มีข้อด้อยคือเปลือกผลหนา เมล็ดเยอะ กลิ่นไม่ค่อยหอม ทำให้ราคาถูกกว่าแป้นรำไพมาเป็นพ่อพันธุ์ เพื่อนำเอาสิ่งที่ดีมาคือ ทนต่อโรค ผลโตและดก และเอามะนาวตระกูลแป้น ที่มีเปลือกบาง น้ำเยอะ กลิ่นหอม เมล็ดแทบจะไม่มี มาเป็นแม่พันธุ์ จึงมีคุณสัมบัติพิเศษทั้งทนต่อโรค ผลดกและโต เปลือกบาง เมล็ดน้อย และกลิ่นหอม เป็นที่ต้องการของตลาด
                    อันนี้เป็นส่วนของหน่วยงานของรัฐ ส่วนเอกชนก็มีเหมือนกัน ลักษณะใกล้เคียงกันครับ คือ “วัง สุขประเสริฐ” ปราชญ์ชาวบ้านด้านมะนาว เจ้าของ “สวนบ้านพันธุ์ไม้” ที่ อ.เมือง จ.พิจิตร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายพันธุ์มะนาวคนหนึ่งก็มีการพัฒนาสายพันธุ์เองด้วย
                    คุณวัง เคยทำงานที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตรมาก่อน จึงมีความรู้ในด้านมะนาวเป็นอย่างดี ก็เลยมีการปรับปรุงสายพันธุ์มะนาวเป็นของตัวเอง โดยเอาแป้นพิจิตร 1 มาเป็นพันธุ์พ่อ ส่วนพันธุ์แม่ เป็น “แป้นแม่ลูกดก” ตั้งชื่อใหม่ว่า “แป้นสุขประเสริฐ” เท่าที่ฟังคุณวังเล่าให้ฟังมีลักษณะคล้ายกันกับพันธุ์ของ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ที่กำลังจะรับรองสายพันธุ์ในเดือนกันยายนนี้ รายละเอียดเอาไว้โอกาสหน้าครับ
                    สนใจเรื่องมะนาว และทุเรียน “หลง-หลินลับแล” ทางสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย จัดโครงการ “เกษตรทัศนศึกษา” ไปยัง จ.พิจิตร และลับแล จ.อุตรดิตถ์ ศึกษาเรื่องมะนาวและทุเรียนหลง-หลินลับแลให้ถึงที่ ในวันที่ 4-5 กรกฎาคมนี้ สอบถามได้ที่ 0-2940-5425-6และ 08-6340-1713
โอ๊ย…ตื่นเต้นๆๆๆๆ  เตรียมกรรไกรเสียบยอดและอุปกรณ์ให้พร้อมเตรียมเพาะพันธ์กันให้พร้อมนะจ้ะ
ขอขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20150701/208897.html

 

Posted on

สร้างเรือนกระจกเพาะชำด้วยตัวเองง่ายๆ ด้วยวัสดุใกล้ตัว

อุปกรณ์การเกษตรgreenhouse-09

สวัสดีค่ะ  ท่านทั้งหลายสังเกตมั้ยคะ ว่าสภาพอากาศของโลกใบนี้มันชักจะบิดเบี้ยวขึ้นทุกวัน หน้าฝนแดดออกเปรี้ยง หน้าร้อนก็ร้อนจนจะละลาย ลำพังแค่เอาร่างกายเราๆก็รู้สึกอึดอัดลำบากกันเอาการ นอกจากร้อนกายแล้วยังร้อนไปถึงกระเป๋าต้องเสียเงินค่าน้ำค่าไฟเพิ่ม เพราะการเปิดแอร์ และใช้น้ำเยอะขึ้น แล้วต้นไม้ล่ะ…จะอยู่ยังไง โดยเฉพาะท่านๆที่ชื่นชอบการเพาะชำต้นไม้คงจะเครียดเพราะต้องหาทางรอดให้ต้นไม้น้อยๆแสนรัก

วันนี้ admin เลยอยากนำเสนอไอเดียการทำเรือนกระจกหรือเรือนเพาะชำแบบง่ายๆ และราคาประหยัดมาฝากกัน อันนี้ก็ต้องขอบคุณ Mr.Adam J. จาก  http://www.fyall.net/greenhouse2.htm  ไว้ด้วยนะจ้ะ

เริ่มจากเตรียมอุปกรณ์กันก่อน

1. ลวดตาข่ายโลหะ  ขนาดตาข่ายตามชอบ

2. ท่อ pvc  แบบที่สามารถดัดให้โค้งงอได้  2 ท่อน มีขนาดสำหรับโครงหลังคา  และอีก 2 ท่อนสำหรับยึดกับแผ่นพื้น

3. แผ่นพลาสติก ควรเลือกแบบที่หนักๆหน่อย ในที่นี้เค้าใช้พลาสติกหนา 6 มิลลิเมตร

4. ลวดมัดหรือเคเบิ้ลไทร์

5. เทปพันสายไฟ

6. คีมตัดลวด

ส่วนอุปกรณ์ที่อาจใช้หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่รูปแบบโรงเรือนของคุณว่าจะทำประตูเข้าออกด้านไหนหรือแบบไหน จะทำประตูมาตรฐานที่ต้องเตรียมกรอบประตู บานพับ หรือจะใช้แค่การเปิดปิดแผ่นพลาสติกก็แล้วแต่ดีไซน์และการใช้งานของแต่ละคน

ว่าแล้วเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

(1) คำนวณขนาดของโรงเรือน เพื่อกำหนดขนาดของแผ่นลวดตาข่ายโลหะ

(2) เริ่มจากพื้นโรงเรือนกันก่อนเลย ให้วางแผ่นโครงตาข่ายสำหรับทำพื้นลงบนพื้นที่ๆที่เราจะสร้างโรงเรือน จากนั้นใช้ลวดมัดท่อ pvc  เข้ากับแผ่นลวดตาข่ายในตำแหน่งหัวและท้าย

จากนั้น นำแผ่นลวดตาข่ายสำหรับทำเป็นหลังคามาดัดให้โค้งงอ และใช้ลวดมัดติดระหว่างโครงแผ่นหลังคากับแผ่นพื้น ตามรูป

 

อุปกรณ์เกษตรgreenhouse-04(wireframe)

 

 

 

 

 

 

(3) นำท่อ pvc  มาดัดให้โค้งงอตามโครงหลังคาและมัดเข้ากับแผ่นตาข่ายหลังคาด้วยลวดหรือเทปพันสายไฟ ตามรูป

 

อุปกรณ์เกษตรgreenhouse-06(pvc)

 

 

 

 

 

 

(4) นำแผ่นพลาสติกมาคลุมโครงหลังคา และมัดยึดให้เรียบร้อย

 

อุปกรณ์เกษตร151_5162

 

 

 

 

 

 

(5) จากนั้น ก็ใช้แผ่นพลากติกคลุมปิดด้านหลังโรงเรือน และอาจใช้แผ่นพลาสติกเป็นแบบปิดเปิดแทนประตูด้านหน้าได้ แต่สำหรับคนที่ต้องการประตูมาตรฐานก็สามารถใส่กรอบประตู และติดบานพับสำหรับบานประตูได้เลย

อันนี้ กรอบประตูและบานประตูก็ทำเอง โดยบานประตูก็ยังใช้แผ่นพลาสติกมาหุ้ม

 

อุปกรณ์เกษตรgreenhouse-10

 

 

 

 

 

 

อุปกรณ์เกษตรgreenhouse-12

 

 

 

 

 

 

(6) เสร็จแล้วจ้า …

 

อุปกรณ์เกษตรgreenhouse-final

 

 

 

 

 

 

จากนี้ ก็แล้วแต่ความต้องการแล้วนะคะ อยากให้เป็นห้องคุมความชื้นก็ต่อสายพ่นหมอก ต้องการให้แสงทั้งวันทั้งคืนก็ต่อหลอดไฟ ก็ว่ากันไป

สุดท้าย ก็ขอให้ทุกท่านสนุกสนานกับการ DIY อุปกรณ์เกษตรเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจ้า