เนื่องมาจากการพยายามปรับตัวสู่ยุค AEC ของ adimin ทำให้ได้ไปเจอข่าวการวิจัยอุปกรณ์การเกษตรเชิงพลังงานทางเลือกโดยการใช้แสงไฟจาก LED ในการปลูกพืชในอวกาศสำหรับนักบินอวกาศ
จากความเก่งกาจทางด้านภาษา ทำให้ admin แปลออกมาได้ประมาณนี้ว่า
ตอนนี้คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัย Purdue นำทีมโดยคุณ Cary Mitchell อาจารย์ภาควิชาพืชสวนและนักศึกษาปริญญาโท คุณ Lucie Poulet ได้ศึกษาการเจริญเติบโตของผักกาดหอมภายใต้แสงจากหลอด LED ที่ติดตั้งบริเวณใกล้หลังคา ในอัตราส่วนแสงแดง : แสงน้ำเงิน เป็น 95 : 5 ทั้งนี้การศึกษาพบว่าใช้พลังงานน้อยกว่าการใช้แสงปริมาณเดียวกันจากแหล่งกำเนิดแสงสว่างแบบเดิม และยังใช้พลังงานแค่เพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับการใช้หลอด LED แบบเต็มรูปแบบ
คณะศึกษากล่าวว่า “”ทุกอย่างบนโลกล้วนถูกขับเคลื่อนด้วยแสงอาทิตย์และระบบการสังเคราะห์แสง คำถามคือมีวิธีไหนที่เราจะสามารถจำลองพื้นที่เพาะปลูก ภายใต้การสร้างแสงด้วยแหล่งพลังงานจำกัด ซึ่งไฟ LED เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะเราไม่ได้ติดอยู่ในยุคของความอุดมสมบูรณ์ของพลังงานแสงแรงสูง แหล่งพลังงานขนาดใหญ่ และก็ไม่ใช่ยุคของโคมไฟที่เปราะบาง ”
หนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการศึกษาการใช้แสงจาก LED ในการจำลองระบบนิเวศที่เลียนแบบชีวมณฑลของโลก คือ อาหารสำหรับการเดินทางไปสำรวจอวกาศ เช่น การเดินทางไป-กลับ ระหว่างโลกและดาวอังคารจะใช้เวลาประมาณ 1,000 วัน ซึ่งต้องใช้อาหาร ,น้ำและออกซิเจนจำนวนมาก ซึ่งหากเราสามารถพัฒนาโมดูลสำหรับปลูกพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ลูกเรือมีพื้นที่สำหรับปลูกพืชเป็นอาหารได้ในระหว่างการเดินทางที่ยาวนาน
Poulet ยังกล่าวอีกว่า “ถ้าเราสามารถออกแบบระบบที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราจะสามารถปลูกผักเพื่อการบริโภคสำหรับการเดินทางในอวกาศ ตอนนี้เราสามารถจินตนาการไปถึงการสร้างเรือนกระจกปลูกผักบนดวงจันทร์กันเลยทีเดียว”
ความท้าทายหลักในการสร้างโมดูลพืชระหว่างการเดินทางในอวกาศ คือหากใช้หลอดไฟโซเดียมซึ่งเลียนแบบแสงอาทิตย์ก็จะต้องใช้พลังงานสูงถึง 600 ถึง 1,000 วัตต์ธรรมดา และความร้อนจากแสงไฟจะเผาใบของพืชหากวางใกล้เกินไป รวมไปถึงต้องมีระบบการดูดซับความร้อนส่วนเกินที่จะเกิดขึ้น
“นอกจากนี้ คุณจะต้องมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จึงจะสามารถเลี้ยงลูกเรือสี่คนเป็นประจำด้วยการปลูกพืชภายใต้แสงไฟฟ้าแบบดั้งเดิม”Poulet กล่าว
เพื่อการออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น Poulet และ Mitchell หันไปใช้หลอดไฟ LED ความเข้มสูง ซึ่งแต่ละหลอดใช้ไฟประมาณ 1 วัตต์ และมีขนาดเล็กมาก รวมถึงมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดไฟแบบดั้งเดิม ที่สำคัญหลอด LED เหล่านี้ไม่ปล่อยพลังงานความร้อนส่วนเกิน ซึ่งทำให้เราสามารถติดตั้งหลอดไฟ LED ไว้ใกล้กับพืชมากขึ้น
“แทนที่ตั้งโคมไฟแบบดั้งเดิมให้ห่างจากแปลงผักอย่างน้อย 4 ฟุตสำหรับต้นผักกาดหอม แต่ถ้าใช้หลอดไฟ LED เราจะวางห่างจากผักได้ในระยะ 4 เซนติเมตรจากใบ” Mitchell กล่าว
ทั้งนี้ นักวิจัยยังต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการปรับอัตราส่วนของสีแดงและแสงสีน้ำเงินในผักกาดหอมใบด้วยชุดคลื่นแสงที่ดีที่สุดสำหรับการสังเคราะห์แสงและการเจริญเติบโต
Mitchell ยังกล่าวอีกว่าการศึกษาการใช้ไฟ LED นี้ยังสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกรโดยการลดค่าใช้จ่ายในการส่องสว่าง
ขั้นตอนต่อไปในการวิจัย คือการปรับเพิ่มและลดแสงให้สอดคล้องตามระยะการเจริญเติบโตของพืช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและประหยัดพลังงาน
เป็นไงคะ น่าสนใจใช่มั้ยล่ะ จริงๆถ้าเราจะเพิ่มการใช้หลอด LED เป็นอุปกรณ์การเกษตรชิ้นใหม่ในลิสต์รายการ หรือลองประยุกต์ใช้ LED กับสิ่งรอบตัวที่บ้านเราบ้างก็คงไม่เสียหายอะไร ดีไม่ดี…จะประหยัดไฟ ประหยัดสตางค์ไปได้อีกเยอะ
ขอบคุณ http://www.sciencedaily.com/releases/2015/07/150701115101.htm